เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem)

เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้นซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรล-ลิน(Gibberellins) เข้ามาเกี่ยวข้องส่วนใหญ่พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะพืชตระกูลหญ้า เช่น ไผ่ ข้าว หญ้าคมบางกลม เป็นต้น


ที่มาของรูปภาพ: http://krunuttanun.blogspot.com/2015/10/2-1.html


2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)
เป็นเนื้อเยื่อที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ หยุดการแบ่งตัวจึงทำให้เซลล์มีรูปร่างคงที่ แต่ละเซลล์ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง จึงทำให้ลักษณะรูปร่างของเซลล์และองค์ประกอบภายในเซลล์ แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้นๆ เนื้อเยื่อถาวรบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงสภาพและสามารถกลับมาแบ่ง เซลล์เหมือนเนื้อเยื่อ-เจริญได้อีกครั้ง เรียกว่า การเปลี่ยนกลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญ (Dedifferentiation) เมื่อสภาวะบางอย่างเปลี่ยนไป เช่น เมื่อเกิดบาดแผลที่ลำต้น เซลล์พาเรงคิมาในชั้นคอร์เทกซ์ก็จะแบ่งตัวเพื่อสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทน จากนั้นก็กลายเป็นเนื้อเยื่อถาวรเหมือนเดิม
ลักษณะที่สำคัญของเนื้อเยื่อถาวร
 - ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และหยุดการแบ่งเซลล์
- เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ ที่แตกต่างกันออกไป
 - มีการสะสมสารต่างๆภายในเซลล์ และเพิ่มความหนาให้แก่ผนังเซลล์

             เนื้อเยื่อถาวรที่จำแนกตามชนิดของเซลล์ที่มาประกอบกัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissue)
2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue)

ความคิดเห็น